เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 3.ภยวรรค 2.อูมิภยสูตร

อาวัฏฏภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
“เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตก
อยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอการทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด
จะพึงปรากฏ” เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย วาจา ใจ มีสติไม่ตั้งมั่น
ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นคหบดีหรือบุตรคหบดีในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ 5 คิดอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ 5 โภคทรัพย์ในตระกูลของเราก็มี
อยู่พร้อม เราสามารถที่จะใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้ ทางที่ดี เราบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญ” เธอบอกคืนสิกขากลับมา
เป็นคฤหัสถ์ นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอาวัฏฏภัยบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
อาวัฏฏภัย นี้เป็นชื่อเรียกกามคุณ 5 นี้เรียกว่า อาวัฏฏภัย
สุสุกาภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
“เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตก
อยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอการทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด
จะพึงปรากฏ” เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย วาจา ใจ มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่
สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคาม(สตรี)ในหมู่บ้านหรือตำบลนั้นนุ่งไม่เรียบร้อย
หรือห่มไม่เรียบร้อย ราคะรบกวนจิตของเธอเพราะเห็นมาตุคามนุ่งไม่เรียบร้อยหรือ
ห่มไม่เรียบร้อย เธอมีจิตฟุ้งซ่านเพราะราคะ จึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวสุสุกาภัยบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า สุสุกาภัย
นี้เป็นชื่อเรียกมาตุคาม นี้เรียกว่า สุสุกาภัย
ภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 ประการนี้แลที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้พึงประสบ

อูมิภยสูตรที่ 2 จบ